วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ลูกตบ
https://sites.google.com/site/61bad2556/luk-tb-smash



ลูกตบ (Smash)



ในเกมแบดมินตัน ลูกตบเป็นลูกที่เด็ดขาดที่ตีจากเบื้องสูงกดลงสู่เป้าหมายให้พุ่งสู่พื้นในวิถีตรงที่รุนแรง และเร็วที่สุดเป็นลูกที่พุ่งไปสู่เป้าหมายด้วยความเร็วที่สุดสูงกว่าเกมเล่นอื่น ๆ ที่ใช้แร็กเก็ต เป็นลูกที่ใช้บีบบังคับให้คู่ต่อสู้ต้องตกเป็นฝ่ายรับ มีเวลาจำกัดสำหรับการเตรียมตัวตอบโต้ ลูกตบเป็นลูกฆ่า เป็นลูกทำแต้มที่ได้ผลถ้ารู้จักใช้อย่างถูกต้อง
ลูกตบใช้ในโอกาสต่าง ๆ คือ
1.เมื่อคู่ต่อสู้โยนลูกข้ามตาข่ายเพียงครึ่งสนามหรือส่งลูกมาไม่ถึงหลัง
2.เมือต้องการบีบให้คู่ต่อสู้เสียหลัก ผละออกจากจุดศูนย์กลาง
3.เมื่อต้องการให้คู่ต่อสู้กังวลใจ พะวงอยู่กับการตั้งรับ
4.เพื่อผลของการหลอกล่อ เมื่อคู่ต่อสู้เกิดความกังวลใจ ทำให้ประสิทธิผลของการใช้ลูกหลักอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น
5.เมื่อต้องการเผด็จศึกยุติการตอบโต้ หรือใช้เมื่อคู่ต่อสู้เผลอตัว หรือเสียหลักการทรงตัวบุกทำคะแนนด้วยลูกเด็ดขาด
วิถีทางที่ดีของลูกตบ
ลูกตบที่สมบูรณ์แบบ ต้องพุ่งจากแร็กเก็ตมีวิถีข้ามตาข่ายไปเป็นเส้นตรง พุ่งเฉียดผ่านตาข่ายโดยไม่เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ดักลูกสวนโต้กลับมาได้ ต้องพุ่งปักหัวไปยังแดนตรงข้ามด้วยความเร็วและรุนแรง โดยใช้แหล่งที่มาของการตีลูกทั้งหมดโถมใช้เสริมพลังในการตบลูก ความหนักหน่วงของลูกตบไม่ได้เกิดจากแรงตีที่ใช้อย่างหักโหมแต่ความเร็วกับความรุนแรงของลูกตบที่หนักหน่วงมาจากจังหวะการประสานงานอย่างกลมกลืนของจังหวะฟุตเวิร์ค การเหวี่ยงตีของแขนการตวัดของข้อมือเสริมด้วยแรงปะทะที่เกิดจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า ลูกตบเป็นลูกที่กินแรงที่ใช้ไปนั้น คุ้มแก่การเสียแรง ถ้าลูกตบไปนั้นสามารถยุติการตอบโต้และทำคะแนนได้ แต่จะสูญเสียแรงเพิ่มเป็นทวีคูณถ้าฝ่ายตรงข้ามสามารถรับลูกตบกลับมายังมุมไกลห่างตัวผู้ตบ ทำให้ผู้ตบนอกจากสูญเสียแรงในการตบลูกแล้วยังต้องสูญเสียพลังงานในการวิ่งไล่ลูกอีกด้วยเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้เล่นควรฝึกการทรงตัวหลังตบลูกให้เร็วรู้จักปรับปรุงฟุตเวิร์คของตัวเองให้เบาที่สุดเพื่อประหยัดพลังงานในการตบลูกทุกครั้ง
การตบลูกไม่ควรตบข้ามไปในวิถีเดียว ควรบังคับให้ลูกตบข้ามไปในลักษณะต่างกันสั้นบ้างยาวบ้างสลับกันไปการตบลูกให้ข้ามไปในลักษณะช่วงสั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งโยนข้ามมาครึ่งสนาม หรือบางครั้งผู้เล่นที่มีรูปร่างสูงยาว อาจจะใช้การกระโดดตัวลอยจากพื้น เพื่อสร้างมุมตบลูกได้ในระดับสูง เพื่อปักหัวให้ลึกไปยังแดนตรงข้ามได้มากตามระดับที่ตัวเองสามารถกระโดดลอยตบลูกได้ซึ่งบางครั้งผู้ตบยังสามารถใช้ลูกท้อปสะปินหรือครึ่งตบครึ่งตัด สร้างลูกตบข้ามไปในวิถีประหลาด ๆ ยากแก่การเดาของคู่ต่อสู้ได้ การกระโดดถีบตัวขึ้นตบลูกนอกจากทำให้ผู้ตบตีลูกในระดับสูงได้ และทำให้มีมุมลึกในการตบลูกแล้ว บางครั้งยังใช้เป็นการหลอกล่อ คู่ต่อสู้ได้แทนที่จะตบลูกด้วยความรุนแรงเพียงอย่างเดียว อาจจะแตะหยอดสลับก็ได้ ทำให้เกิดความหลากหลายในการตีลูก
ลูกตบคร่อมศีรษะ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ลูกตบโอเวอร์เฮ็ด บางที่ก็เรียกว่าลูกตบอ้อมศีรษะ เป็นลูกที่ใช้เล่นแทนลูกหลังมือ หรือแบ็คแฮนด์กันบ่อยที่สุด ผู้เล่นที่ใช้สไตล์การเล่นแบบรุกจะนิยมใช้ลูกโยนหรือลูกตบคร่อมศีรษะกันมาก เพราะจู่โจมคู่ต่อสู้ได้ดีกว่า มีประสิทธิผลมากกว่าแทนการใช้ตีด้วยลูกหลังมือที่ต้องหันข้าง หรือหันหลังให้ตาข่ายกับคู่ต่อสู้ลูกคร่อมศีรษะ เป็นการตีลูกจากระดับสูง ผู้เล่นจึงมีโอกาสเลือกมุมกับเป้าหมายการตีได้กว้างกว่า เล็งกำหนดเป้าหมายให้เป็นลูกตบยาว หรือสั้นก็ได้ เป็นการตีลูกที่ผู้เล่นหันหน้าเข้าหาสนามคู่แข่งขัน การเคลื่อนไหวหรือตำแหน่งที่ยืนของคู่แข่งย่อมอยู่ในสายตาการกำหนดวางเป้าหมายย่อมกระทำได้ง่ายขึ้น เป้าหมายการตบลูกคร่อมศีรษะที่ใช้กันมาก และใช้ได้ผลมากที่สุด ได้แก่การตบขนานเส้นข้าง และการตบทแยงสนาม เพราะเป็นการตบลูกที่ทำให้คู่ต่อสู้เดาหรือคาดเดาหรือคาดคะเนได้ยาก ดูไม่ออกว่าเป้าหมายการตบนั้นจะพุ่งไปด้านซ้ายหรือด้านขวาของสนาม เป็นการตบตวัดลูกที่มีความเร็วในการเปลี่ยนทิศของเป้าหมาย ถ้าทำได้อย่างแนบเนียน จะสร้างความปั่นป่วนระส่ำระส่ายต่อฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมากการตบลูกขนานเส้นข้างมีแนวโน้มที่จะตบออกนอกเส้นได้ง่าย เพราะการจับแร็กเก็ตแบบตัว วี. หน้าแร็กเก็ตจะหันออกด้านซ้ายลูกที่ตบข้ามไปมักจะเฉ ออกทางด้านซ้ายของสนาม การเล็งเป้าหมายตบลูกจึงต้องเล็งเพื่อเข้ามาในสนามเล็กน้อย ในทำนองเดียวกัน การตบลูกขนานเส้นด้านขวาลูกที่ตบข้ามไปจะมีความแน่นอนมากกว่า เพราะวิถีของลูกจะมีแนวโน้มเฉเอียงเข้ามาในสนาม
การตบลูกทแยงสนาม ต้องตวัดลูกข้ามไปด้วยการพุ่งเร็ว และพึงระวังการดักลูก ของคู่ต่อสู้ การตบลูกทแยงสนามสามารถทำได้ทั้งสองด้านทั้งคร่อมศีรษะและด้านโฟร์แฮนด์จะเป็นลูกตบที่สร้างความลำบากใจแก่ฝ่าตรงข้ามเป็นอย่างมาก เพราะวิถีกับมุมของลูกตบที่ข้ามไปมีหลากหลาย ยากแก่การเดาและการคาดคะเนของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ก็เป็นลูกที่ข้ามตาข่ายอย่างเฉียดฉิว ง่ายแก่การตีติดตาข่ายถ้าการตบมีการกดลูกมากเกินไป
เป้าหมายการลูกตบแบ่งออกได้เป็น
1.ตบลูกให้ห่างตัวผู้รับ
2.ตบลูกพุ่งเข้าหาตัวผู้รับ
ตบลูกห่างตัวผู้รับ
เป็นการตบลูกแบบเบสิคพื้นฐาน บีบบังคับให้คู่ต่อสู้ผละออกจากศูนย์กลางสนามเพื่อไปรับลูก ณ อีกจุดหนึ่ง ระหว่างที่ต้องเคลื่อนย้ายผละจากที่มั่นเดิม คู่แข่งอาจจะกระทำการผิดผลาดในจังหวะใดจังหวะหนึ่งยังผลให้การตีหรือการรับลูกกลับมาผิดพลาดสั้นไปหรือยาวเกินไป ทำให้เปิดโอกาสให้เราซ้ำเติมในลักษณะการรุกโจมตีซ้ำดาบสองได้ ในทำนองเดียวกัน การฉีกแยกคู่แข่งออกจากศูนย์กลาง ยอมทำให้อีกด้านหนึ่งของสนามเกิดช่องว่างมากขึ้น ทำให้เราสามารถตีโยกบีบให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดการเพลี่ยงพล้ำขึ้นได้โดยง่ายหรือบางครั้งอาจจะบีบให้ตีลูกเสียเองหรือเกิดUnforced Error อย่างคาดไม่ถึงก็ได้
ตบลูกพุ่งเข้าหาตัวผู้รับ
เป็นการตบลูกสวนทางกับหลักการเลือกเป้าหมายการตีลูกในเกมแบดมินตัน แต่อาศัยที่การตบลูกที่พุ่งเร็วและแรง การตบลูกพุ่งแรงเข้าหาตัวคู่ต่อสู้อาจจะทำให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำอย่างง่าย ๆ ก็ได้ เพราะความเร็วกับความแรงของลูกทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีเวลาสำหรับการเตรียมการตอบโต้ ยิ่งผู้เล่นที่อ่อนฟุตเวิร์คจัดจังหวะเท้าไม่ถูก จัดจังหวะเท้าไม่คล่องตัว ก็อาจจะเอี้ยวตัวหลบไม่ทัน เพื่อเปิดมุมสะวิงสำหรับเหวี่ยงตีลูกได้ถนัด หรือบางครั้งคาดไม่ถึงคิดว่าผู้ตบมีแนวโน้มที่จะกำหนดเป้าหมายการตบลูกไปอย่าง ส่วนว่างของสนามมากกว่าที่จะตบลูกพุ่งเข้ามาหาตัวก็ได้


ลูกโยน Lod or Clear
https://sites.google.com/site/61bad2556/lukyon-lob-or-clear


ลูกโยน(Lob or Clear)


ลูกโยน คือ ลูกที่ตีพุ่งโด่งข้ามไปในระดับสูง และย้อยตกลงมาในมุม 90 องศาในแดนตรงกันข้ามเป็นลูกที่ตีจากเหนือศีรษะ หรือ ลูกที่งัดจากล่างก็ได้ ตีได้ทั้งหน้ามือ โฟร์แฮนด์ และหลังมือ แบ็คแฮนด์
ลูกโยน เป็นลูกเบสิคพื้นฐาน นักเล่นหัดใหม่จะเริ่มจากการหัดตีลูกโยน จึงเป็นลูกเบสิคที่สุดในกีฬาแบดมินตัน มองเผิน ๆ แล้วส่านมากจะคิดว่า ลูกโยนที่เป็นลูกที่ใช้สำหรับการแก้สถานการณ์ โยนลูกข้ามไปสูงโด่งมากเท่าใด ก็จะมีเวลาสำหรับการกลับทรงตัวของผู้เล่นมากเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ลูกโยนอาจจะใช้สำหรับเป็นการเล่นในเชิงรุกก็ได้เช่น การตีลูกโยนแบบพุ่งเร็วจี้ไปยังมุมหลังทั้งสองด้าน จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามตกเป็นฝ่ายรับถ้าอยู่ในสถานการณ์เสียหลักจวนตัว จะทำให้การแก้ไขกลับการทรงตัวได้ยากยิ่งขึ้น
ลูกโยน มีจังหวะการตีคล้ายคลึงกับการตบ แต่ไม่ต้องใช้แรงกดมากเท่า แทนที่จะตีกดลูกต่ำกลับเป็นการตีเสยลูกให้พุ่งโด่งขึ้นไปด้านบนสุด สุดแท้แต่ว่าผู้เล่นจะบังคับให้ลูกพุ่งข้ามไปในระดับวิถี ความเร็วตามต้องการลูกโยนที่ข้ามไปอย่างสมบูรณ์แบบ จะต้องมีแรงวิ่งไกลถึงสุดสนามตรงข้าม และต้องไม่ดาดจนคู่แข่งสามารถดักตะปบตีลูกได้ครึ่งทาง ลูกโยนที่ไม่ถึงหลัง หรือตีเข้าสู่มือคู่ต่อสู้ จะทำให้ฝ่ายเราเสียเปรียบ การตีลูกโยน ให้กลับไปดูบทก่อน ๆ ที่ว่าด้วยการตีลูกแรงของการตีลูก และจังหวะฟุตเวิร์คของการตีลูก ฝึกฝนให้ดีจนสามารถจับจังหวะการเหวี่ยงตีลูกโยนไปถึงด้านหลังของฝั่งตรงข้ามได้อย่างง่าย ๆและสบาย ๆ ในจังหวะ วิถี และระดับที่เราสามารถบังคับให้ลูกข้ามไปตามที่ต้องการ
ซูซี่ ซูซานติ แชมป์เปี้ยนโลกหญิงเดี่ยว และแชมป์เปี้ยนเหรียญทองโอลิมปิคหหญิงเดี่ยวคนแรกของโลกจากอินโดนีเ.ซีย มีโยนที่เล่นได้เยี่ยมสุดยอด ลูกโยนของเธอตีง่าย ๆ เนิบ ๆ แต่หนักแน่นและลึกถึงหลัง เธอสามารถตีป้อนโยนเข้ามุมหลังทั้งสองข้างได้ลึกและแม่นยำจึงทำให้เธอได้ครองความเป็นราชินีแห่งการเล่นเดี่ยวหญิงของโลกอย่างต่อเนื่องหลายปีด้วย
ลูกโยนอาจจะแบ่งออกมาได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.ลูกโยนหน้ามือ (Forehand Clear)
2.ลูกโยนหลังมือ (Backhand Clear)
3.ลูกงัดโยน (Underhand Clear)


ลูกโยนหน้ามือ
แรงที่ตีเกิดจากการประสานงานของแรงที่เหวี่ยง แรงตวัด การสะบัดของลำแขนข้อมือจังหวะฟุตเวิร์คที่ถูกต้อง บวกกับการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า โดยที่แรงตีที่ผ่านแร็กเก็ตไปสัมผัสลูกในช่วงวินาทีที่ถูจังหวะจะโคน รวมแรงดีด ผลัก ดันให้ลูกพุ่งสูงโด่งไปยังสนามตรงข้าม ตามเป้าหมายที่ต้องการ
ลูกโยนหลังมือ
แรงตีเกิดจากการ ประสานงานเช่นเดียวกันกับ การตีลูกหน้ามือ แต่การวางฟุตเวิร์คสลับกันและไม่มีแรงที่โถมที่มาจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า แรงตีลูกหลังมือเกือบทั้งหมดจึงมาจากแรงเหวี่ยง แรงตวัด และการสะบัดลำแขน กับข้อมือเท่านั้น โดยเหตุที่การตีลูกหลังมือ แหล่งที่มาของแรงตีลูกมีจำกัด แรงเหวี่ยง แรงตวัดของลำแขนที่มาจากหัวไหล่ กับแรงที่เกิดจากการสะบัดข้อมือ จึงจำเป็นต้องประสานงานสอดคล้องกันอย่างกลมกลืนเป็นจังหวะเดียวโดยทฤษฎีแล้ว ลูกหลังมือน่าจะเป็นลูกรับสำหรับแก้ไขสถานการณ์มากกว่าเป็นลูกบุกแต่ถ้าฝึกตีลูกให้แรงและมีความคล่องแคล่วชำนาญ จะกลายเป็นการตีลูกที่ผู้เล่นสามารถสร้างเขี้ยวเล็บให้แก่การตีลูกหลังมือของตนกลายเป็นการเล่นเชิงรุก ได้จังหวะของการดีด สะบัดข้อมือที่กระทำได้ในเสี้ยววินาทีกับแรงเหวี่ยงของแร็กเก็ตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เล่นสามารถพลิกโฉมจากการเกมรับเป็นเกมรุกได้ในบัดดล เพียงแต่บิดหน้าแร็กเก็ต เปลี่ยนจุดเป้าหมายการตี ลูกก็จะวิ่งไปอีกทางหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างสัดส่วนของการเล่นลูกหลอก ได้อย่างแพรวพราวด้วยลูกหลังมือ ไม่ว่าจะเป็นลูกโยนหลังมือกระแทกไปมุมหนึ่งมุมใดของสองมุมหลัง หรือแตะหยอดด้วยหลังมือขนานเส้น หรือทแยงมุมก็สามารถจะทำได้
ลูกงัดโยน
คือการตีลูกโดยช้อนตวัดตีลูกจาก ล่างสะบัดขึ้นด้านบนเป็นการช้อนตีลูกจากต่ำไปสู่สูงเป็นที่ลูกที่ไม่ต้องใช้แรงเหวี่ยงตีมากเท่าไหร่ ใช้ข้อกระตุกหรือสะบัดลูกก็จะปลิวออกจากแร็กเก็ตอย่างง่ายดาย ส่วนมากจะเป็นลูกที่เข้าประชิดด้านหน้าของสนามเช่น การเข้ารับลูกแตะหยอดหรือลูกหยอดที่ฝ่ายตรงข้ามส่งข้ามมา หรือการรับลูกตบเป็นต้น
ลูกงัดใช้ตีได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ เป็นลูกที่ได้แรงตีมาจากการตวัด กระตุกหรือสะบัดของข้อมือมากกว่าแรงตีจากแหล่งอื่น การตีลูกงัดผู้เล่นต้องยืดแขนและตีลูกสุดช่วงแขน ลูกงัดบริเวณหน้าตาข่ายถ้าเข้าประชิดลูกได้เร็ว มีโอกาสตีลูกในระดับสูง จะใช้เป็นลูกหลอกล่อคู่ต่อสู้ด้วยการเล่นลูกสองจังหวะ เหยียดแขนยื่นแร็กเก็ตออกไป จะทิ้งเป็นลูกหยอดก็ได้ หรือจะกระแทกลูกไปด้านหลังของสนามตรงข้ามก็ได้ จะเป็นการเล่นลูกหลอกสองจังหวะท่ำคัญอีกลูกหนึ่งในเกมการเล่นแบดมินตันที่ผู้เล่นทุกคนจะมองข้ามไม่ได้
การงัดลูกแบ่งเป็นสองวิถีใหญ่ ๆ คือ การงัดลูกให้พ่งข้ามไปโดยไม่โด่งมากนัก ใช้เป็นการงัดลูกแบบรุก อีกวิถีหนึ่งคือการงัดลูกโด่งดึงให้คู่ต่อสู้ไปด้านหลังสนาม เพื่อให้เวลาสำหรับการกลับทรงตัวสู่จุดศูนย์กลางได้มากขึ้นฝึกหัดตีลูกโยนตามหลักวีธีที่แนะนำมาถึงขั้นตอนนี้ โปรดอย่าลืมหลักขั้นพื้นฐานที่ได้อธิบายไว้แล้วในบทก่อน ๆ ทุกครั้งที่ตีลูกนั้น จะต้องไม่ลืมหลักการตีลูกใหญ่ ๆดังนี้ คือ
1.หน้าแร็กเก็ตต้องตั้งให้ตรงขณะตีลูก
2.ขณะที่แร็กเก็ตสัมผัสกระทบตีลูกนั้นแขนทั้งสองของผู้เล่นจะต้องเหยียดตรงอยู่ในแนวตรงเสมอ
3.วิ่งเข้าไปหาลูกอย่ารอให้ลูกวิ่งเข้ามาหาเรา
4.เข้าประชิดลูกในระดับสูงที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้และ
5.ต้องรู้จักดักลูก และเข้าปะทะลูกเสมอ
 https://youtu.be/JOM2q1h4Qbc
การส่งลูก
https://sites.google.com/site/61bad2556/kar-sng-luk


การส่งลูก



การส่งลูกเป็นวิธีการของการเริ่มเล่นในการเล่นหรือฝึกทักษะแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเริ่มฝึกตีลูกแบบต่าง ๆ ตลอดจนเริ่มการแข่งขัน การส่งลูกจะส่งได้ทั้งลูกหน้ามือและหลังมือซึ่งวิธีการส่งมีดังนี้
การส่งลูกหน้ามือ
1. ผู้ที่จะส่งลูกจะยืนห่างจากเส้นกลางสนามและเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 นิ้ว(ในกรณีเล่นประเภทคู่) และยืนห่างเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 ฟุต(ในกรณีเล่นประเภทคู่)
2.ยืนให้เท้าช้ายอยู่ข้างหน้าสำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างจะไม่ยกพ้นพื้นสนามเวลาส่งลูก
3.ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ งอแขนพอประมาณ มือขวาเงื้อไม้ระดับเอวพร้อมที่จะส่งลูก
4.ตามองเป้าหมายที่จะส่งลูก ปลอยลูก พร้อมกับตวัดแขนมาข้างหน้าเมื่อไม้สัมผัสกับลูกให้กระดกข้อมือช่วยส่งลูก ไปยังทิศทางที่ต้องการ
การส่งลูกหลังมือ
1. ผู้ที่จะส่งลูกจะยืนห่างจากเส้นกลางสนามและเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 นิ้ว
2. ยืนให้เท้าขวาอยู่ข้างหน้าสำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างจะไม่ยกพ้นพื้นสนามเวลาส่งลูก
3.ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ บริเวณปลายขนไก่ทางด้านซ้ายของลำตัวหลังมือด้านขวาอยู่ด้าน หน้า งอแขนพอประมาณ มือขวาเงื้อไม้ระดับเอวพร้อมที่จะส่งลูก
4.ตามองเป้าหมายที่จะส่งลูก ปลอยลูก พร้อมกับตวัดแขนมาข้างหน้าเมื่อไม้สัมผัสกับลูกให้กระดกข้อมือช่วยส่งลูก ไปยังทิศทางที่ต้องการ


ตัวอย่างการส่งลูก

การจับลูกแบดมินตัน
https://sites.google.com/site/61bad2556/kar-cab-luk-baedmintan


การจับลูกแบดมินตัน

เมื่อรู้ถึงวิธีการจับไม้แล้วต่อไปก็ต้องรู้ถึงการจับลูกขนไก่ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบการเล่นกีฬาแบดมินตัน การจับลูกขนไก่มีความสำคัญอย่างมากในการเสิร์ฟลูก
การจับลูกขนไก่ที่นิยมกัน มี 3 วิธีคือ

1.จับที่หัวไม้คอร์กของลูก โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางจับลูก
2.จับที่ปลายขนไก่ด้านในของลูกโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้

3.จับโดยการวางลูกอยู่บนฝ่ามือ


https://youtu.be/6u-td-EkOUc

การจับไม้แบดมินตัน
https://sites.google.com/site/61bad2556/withi-kar-cab-mi-baedmintan


การจับไม้แบดมินตัน



หลักทั่วไปในการจับไม้แร็กเกต
กำเนิด สุภัณวงษ์ (2537 : 10) ได้กล่าวถึงวิธีการจับไม้แร็กเกตที่นิยมกันมี 2 แบบคือ แบบเช็คแฮนด์ และแบบวีเชพ
-การจับไม้แบบเช็คแฮนด์ เหมาะสำหรับการตีลูกหน้ามือ (Fore Hand) จนถึงลูกอ้อมศีรษะ (Over Head)
-การจับไม้แบบวีเชพ เหมาะสำหรับการตีลูกหลังมือ โดยที่นิ้วหัวแม่มือจะกดอยู่ที่ สันใหญ่ของด้ามในการตีลูกหน้ามือการจับไม้แบบวีเชพไม่สามารถปรับหน้าไม้ให้ตั้งฉากกับลูกขนไก่ได้ ลูกขนไก่จะทำมุมกับหน้าไม้ประมาณ 45 องศา ซึ่งทำให้แรงที่ใช้ในการตีลูกได้ประโยชน์เพียงครึ่งเดียว และวิถีของลูกขนไก่จะไม่ตรงหรือที่เราเรียกกันว่าลูกไซด์




ในการเริ่มฝึกหัดเล่นแบดมินตันจะเริ่มด้วยการตีลูกหน้ามือก่อน ดังนั้นควรที่จะเริ่มด้วยการจับไม้แบบเช็คแฮนด์ เมื่อฝึกหัดตีลูกหลังมือจึงสอนให้เลือกว่าจะคงรูปการจับไม้แบบเช็คแฮนด์ไว้ และช่วยในการตีลูกหลังมือโดยการปรับนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือหรือปรับไปจับไม้แบบวีเชพใน การตีลูกหลังมือ และปรับมาจับไม้แบบเช็คแฮนด์เมื่อตีลูกหน้ามือ ซึ่งวิธีการจับไม้แร็กเกตที่ถูกต้องและนิยมมี 2 แบบคือ
1) การจับแบบเช็คแฮนด์ ใช้มือซ้ายจับที่คอไม้แร็กเกตก่อนวางฝ่ามือขวาลงบนด้ามไม้แร็กเกต แล้วจึงค่อยๆ ลากมือลงมาเรื่อย ๆ จนนิ้วก้อยหยุดที่ปลายด้ามแล้วกำทั้ง 4 นิ้วรอบ ๆ ด้ามไม้แร็กเกตส่วนนิ้วหัวแม่มือจะอยู่ทางด้านแบนอีกด้านหนึ่งของไม้แร็กเกตคล้ายการสัมผัสมือ
2) การจับแบบวีเชพ ธนะรัตน์ หงส์เจริญ (2537 : 43) ได้อธิบายวิธีการจับไม้แร็กเกตแบบวีเชพไว้ว่า ยกมือข้างที่ถนัดขึ้นมาแล้วกางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ออก เป็นรูปตัววีแล้วสอดด้ามไม้แร็กเกตเข้าไปในช่องรูปตัววีใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้คีบทางด้านแบนของด้ามไม้แร็กเกตไว้ เมื่อจับถูกต้องหัวไม้แร็กเกตด้านที่เป็นสันจะอยู่ตรงกลางร่องตัววีพอดี จากนั้นนิ้วที่เหลือทั้ง 3 นิ้ว กำด้ามไม้แร็กเกตเข้ามาโดยกำให้สุดด้าม ปลายด้ามจะอยู่ในอุ้งมือ ใช้นิ้วชี้ล็อกทางส่วนโค้งของ ด้ามไม้แร็กเกตเอาไว้ เมื่อจับด้ามไม้แร็กเกตเรียบร้อยสังเกตจะเห็นว่านิ้วชี้ไม่ติดกับนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยที่เรียงติดกันเป็นมุม 45 องศา ส่วนนิ้วหัวแม่มือจะวางทาบอยู่ด้านแบนของด้ามไม้แร็กเกต


ธนะรัตน์ หงส์เจริญ (2537 : 44) ได้เสนอแนะหลักทั่วไปในการจับไม้แร็กเกต ดังต่อไปนี้
1) ไม่จับไม้แร็กเกตจนแน่นเกินไปกระชับมือเพียงให้อยู่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดในการตีหากจับไม้แร็กเกตแน่นจนเกินไปจะทำให้เกิดอาการเกร็งในส่วนของแขนและไม่สามารถตีและบังคับลูกขนไก่ไปยังเป้าหมายด้วยการใช้นิ้วและข้อมือได้ถนัดกลายเป็นการใช้แขน
มากกว่าเพราะหลักการเล่นแบดมินตันต้องใช้นิ้วมือและข้อมือในการตีลูกขนไก่บังคับไปยังเป้าหมายด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะทำได้ดีและง่ายกว่าการใช้แขน
2) เมื่อจับด้ามไม้แร็กเกตไว้อย่างถูกต้องแล้วสามารถที่จะใช้ไม้แร็กเกตนั้นได้เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของแขน

อย่างไรก็ตามควรได้ทราบถึงวิธีการจับไม้แร็กเกตที่ไม่ถูกต้องไว้ด้วยเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบที่พบเห็นมีอยู่ 2 วิธีคือ
- การจับไม้แร็กเกตแบบหน้าเดียว ซึ่งข้อแตกต่างของการจับไม้แร็กเกตแบบนี้กับการจับแบบวีเชพ คือนิ้วหัวแม่มือจับอยู่ตรงสันทำให้ไม่สามารถตีลูกขนไก่ได้ทั้ง 2 หน้า คงตีได้เพียงหน้าเดียวเฉพาะหน้ามือเท่านั้นส่วนด้านหลังมือไม่สามารถตีได้เลย
- การจับไม้แร็กเกตแบบรวมนิ้วหรือแบบกำค้อน คือการจับไม้แร็กเกตแบบนี้จะใช้นิ้วทั้งห้าจับที่บริเวณด้ามไม้แร็กเกตในลักษณะที่กำแน่นรวมนิ้วทั้งห้าติดกัน ทำให้ไม่สามารถใช้นิ้วและข้อมือในการตีลูกขนไก่อย่างถูกต้องตามหลักการของกีฬาแบดมินตัน




การเล่นแบดมินตัน
https://sites.google.com/site/61bad2556/kar-serif


1.การเสริฟสั้น จับไม้ข้างขวายกไม้ขึ้นตั้งฉากกับหัวไหล่ หัวไม้อยู่ระดับเอวมืออีกข้างจับลูกขนไก่จรดกับปลายหัวไม้ ยืนชิดเส้นเสริฟหันทิศทางไปยังที่จะเสริฟ ก้าวเท้าซ้ายไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย




2.การเสริฟยาว จับไม้ข้างขวายื่นไม้ไว้ข้างลำตัวมืออีกข้างถือลูกขนไก่ในระดับไหล่ ยืนกลางคอร์ตก้าวเท้าขวาถอยไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย








การตั้งรับ

หลังจากเสริฟออกไปแล้วคู่ต่อสู้ก็จะทำเกมส์รุกใส่เรา เราจำเป็นที่จะต้องตั้งรับเกมส์รุกของคู่ต่อสู้ โดยมีวิธีตั้งรับดังนี้ ยืนกลางคอร์ตแยกเท้าออกทั้งสองข้างพอประมาณย่อเข่าเล็กน้อย ยกไม้ขึ้นไว้ระดับไหล่ สายตามองตรงไปยังคู่ต่อสู้





การตบ


การตบเป็นการทำเกมส์รุกใส่คู่ต่อสู้เพื่อทำคะแนน การตบมีวิธีการดังนี้ ยืนกลางคอร์ตแยกเท้าขวาไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ยกไม้ขึ้นเหนือหัวแขนขวาตั้งฉากกับหัวไหล่ แขนอีกข้างยกขนานกับทิศทางที่จะตบ ตามองไปยังเป้าหมายที่จะตบ




การหยอด

การหยอดเป็นการตั้งรับหรือรุกในเวลาเดียวกันเป็นการชิงความได้เปรียบในแดนหน้า การหยอดควรหยอดใช้ชิดตาข่ายให้มากที่สุด การหยอดมีวิธีการดังนี้ ยืนชิดหน้าตาข่ายหันตัวไปในทิศทางที่จะหยอด แยกเท้าซ้ายไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย จับไม้อยู่ในระดับตาข่าย






การโยน

การโยนเป็นการทำลายจังหวะของคู่ต่อสู้และทำให้คู่ต่อสู้ต้องเคลื่อนที่ไปรับลูกที่ท้ายคอร์ต เป็นการเปิดช่องด้านหน้าให้เราทำคะแนน การโยนมีวิธีการดังนี้ ยืนหันทิศทางไปยังด้านที่จะโยน แยกเท้าซ้ายไปด้านหลังเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ถือไม้ไว้ข้างลำตัว








ประโยชน์ของแบดมินตัน
https://sites.google.com/site/61bad2556/prayochn-khxng-baedmintan


ประโยชน์ของแบดมินตัน



ประโยชน์ในระยะสั้น
1.ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอวัยวะทุกส่วนได้พัฒนาอยู่เสมอโดยเฉพาะข้อมือ แขน ขา และ สายตา
2.เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมรรถภาพทางร่างกายที่ดี สมรรถภาพทางร่างกายดังกล่าว คือความแข็งแรง ความอดทน การทำงานสัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ พลังความยืดหยุ่นของอวัยวะต่าง ๆ ความคล่องตัว ความทนทานของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนเลือด ดังนั้น จึงทำให้ผู้เล่นมีร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
3. ถ้าเล่นแบดมินตันเพื่อความอดทน จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารให้สูงขึ้น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจให้ลึกและดีขึ้นด้วย
แบดมินตันมีวิธีการตีลูกหลายแบบ จึงมีเทคนิคเล่นมากมายที่ทำให้ได้ การฝึกฝนการใช้สติปัญญาอยู่ตลอดเวลา
4.เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความฉลาด ไหวพริบ และการส่อหลอกประกอบกัน จึงกล่าวได้ว่าการเล่นแบดมินตันเป็นการทำสงครามด้วยความฉลาด เพราะการเล่นมีการรุก – รับตลอดเวลา
5.ช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดและสร้างความพอใจให้ผู้เล่นเพราะคนทั่ว ๆ ไปต้องการเล่นให้สนุกสนานปล่อยอารมณ์ไปกับการเคลื่อนไหวตามชนิดต่าง ๆ ของกิจกรรม ตามหลักจิตวิทยาแล้วแบดมินตันยังช่วยเสริมสร้างและรักษาจิตใจได้อีกด้วย จิตแพทย์คาร์ล เมนนินเยอร์(Dr.Karl Menninger)หัวหน้าหน่วยงานTopekaซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลก ได้แนะนำให้ใช้กีฬาแบดมินตัน
6.เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับคนไข้ที่ผิดปกติทางอารมณ์ และไม่ใช่แต่จะทำให้สุขภาพจิตของคนป่วยดีขึ้นเท่านั้นคนปกติก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
7. เป็นกีฬาที่สร้างเสริมมนุษย์สัมพันธ์ มิตรภาพ และการแสดงออกที่แสดงถึงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เพราะการเล่นต้องเล่นร่วมกับคนอื่น ๆ ได้มีการพบปะสังสรรค์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะได้รับประโยชน์เท่า ๆ กัน
8. เป็นกีฬาที่มีคนนิยมมาก มีรางวัลสูง มีการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นเกมส์แบดมินตันดี ๆ อยู่เสมอ
ประโยชน์ในระยะยาว
1.ผู้มีส่วนร่วมในกีฬาแบดมินตันจะได้รับประโยชน์ทั้งทางด้านสรีรวิทยา จิตวิทยา และสังคมวิทยา เป็นอย่างมาก
2.โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเพื่อเป็นการลดความกดดันลงบ้าง งานอดิเรกจึงจำเป็นและสำคัญสำหรับมนุษยชาติ กีฬาแบดมินตันจึงเป็นกีฬาที่ใช้เป็นงานอดิเรกได้ดียิ่ง มีทั้งความตื่นเต้น สนุกสนานในชีวิตประจำวัน และแม้ว่าจะอายุถึง 60-70 ปี ก็ยังสามารถเล่นได้อยู่
3. เป็นกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง สมบูรณ์ของร่างกาย โดยการเล่นเป็นประจำ
4.เป็นกีฬาประเภทบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องใช้หรือรอคอยส่วนประกอบอื่น ๆ มากนักและไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากด้วย